ติดต่อ:

(+66)052-005-509

เรื่องหน้ารู้ บทความที่น่าสนใจ

เรื่องหน้ารู้ > เทรนด์อาหารปี 2024 ที่ผู้ประกอบการต้องรู้ให้ได้!!

blog

เทรนด์อาหารปี 2024 ที่ผู้ประกอบการต้องรู้ให้ได้!!

ZoftConnect เอาการเติบโตของเทรนด์อาหาร 9 เทรนด์อาหารของโลกมาแชร์ให้เจ้าของธุรกิจหรือผู้ประกอบการรู้เอาไว้ เพื่อสามารถนำไปปรับตัวก่อนใคร เตรียมพร้อมสร้างโอกาสใหม่เพื่อกำไร และสร้างความปังให้ร้านอาหารของตัวเองสำหรับปีหน้า!


1. ไม่ได้โฟกัสแค่ร่างกาย แต่โฟกัสที่อารมณ์ด้วย 

เทรนต์อาหารอาหารที่ดีต่อสุขภาพ ก็ต้องดีต่อระบบประสาท และสมอง รวมไปถึงส่งผลดีต่ออารมณ์และสุขภาพจิตอีกด้วย! โดยกลุ่มสารอาหารที่ส่งเสริมการทำงานของระบบประสาทและสมอง (Brain-Boosting Nutraceuticals) มีสัดส่วนมากกว่า 1 ใน 3 ของทั้งหมดเลยทีเดียวคนรุ่นใหม่โดยเฉพาะ Gen Z มีแนวโน้มบริโภคอาหารและเครื่องดื่มที่ส่งผลดีต่อสุขภาพจิต แบคทีเรียและจุลินทรีย์ต่างๆ ในลำไส้ของเรา มีส่วนช่วยในการผลิตสารสื่อประสาทช่วยควบคุมกระบวนการทางจิตใจ โดยเชื่อว่า 95% ของปริมาณฮอร์โมนเซโรโทนินซึ่งเป็นฮอร์โมนแห่งความสุข ถูกผลิตจากแบคทีเรียในลำไส้ ดังนั้น ถ้าได้กินอาหารที่ดีต่อลำไส้ก็สามารถส่งผลดีต่อสุขภาพจิตของเราด้วย

2.  Good for Gut เพราะแค่ลำไส้ดี สุขภาพโดยรวมก็ดีไปด้วย

ตอนนี้พรีไบโอติกส์ (Prebiotics) และโพรไบโอติกส์ (Probiotics) มาแรงในอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มเป็นอย่างมาก อย่างพวกอาหารหมักดองต่างๆ เช่น โยเกิร์ต กิมจิ คอมบูชา ขนมปัง sourdough รวมไปถึงผัก ผลไม้ต่างๆ เป็นต้น เพราะทั้งพรีและโพรไบโอติกส์นั้นดีต่อสุขภาพทางเดินอาหารของเรา ที่สำคัญคือมันยังดีต่อสุขภาพองค์รวมทั้งร่างกายและจิตใจอย่างที่เรากล่าวไปข้างต้นอีกด้วย การใช้ชีวิตของผู้บริโภคสูงอายุของ Mintel ประเทศไทย กล่าวว่า ผู้บริโภคชาวไทย 46% เห็นด้วยว่าประเภทอาหารที่บริโภคเป็นประจำส่งผลกระทบต่อสุขภาพมากที่สุด จึงกลายเป็นเหตุผลที่ผลักดันให้ 70% ของผู้บริโภคพยายามรับประทานอาหารที่สมดุลกว่าเพื่อสุขภาพที่ดีที่สุดของพวกเขา 

ดังนั้น ยิ่งร้านอาหารมีการโปรโมตอาหารหรือเครื่องดื่มที่ชูเรื่องประโยชน์ทางสุขภาพ ทำการตลาดที่นำเสนอและชูจุดเด่นเรื่องสุขภาพโดยเฉพาะอาหารที่ดีกับระบบทางเดินอาหารที่กำลังเป็นเทรนด์อยู่ตอนนี้ ก็สามารถขยับขยายช่องทางในการหารายได้ที่ไม่ตกเทรนด์ ตอบโจทย์ผู้บริโภคได้ดียิ่งขึ้น 

3. กินที่มากกว่ากินกับ Eating Experience 

เดี๋ยวนี้ผู้บริโภคไม่ได้กินอาหารเพื่อความอร่อย หรือเพื่อดำรงชีวิตได้เพียงอย่างเดียว แต่การกินเอาประสบการณ์ก็กำลังมาแรงเหมือนกัน โดยข้อมูลจาก FI-Asia กล่าวว่าตอนนี้การท่องเที่ยวเชิงอาหาร หรือ Gastronomy Tourism ก็เป็นอีกกิจกรรมสร้างประสบการณ์การกินที่มีแนวโน้มว่าจะเติบโตอย่างมากหลังสถานการณ์โควิด-19 คลี่คลายลง โดยคาดว่ามูลค่าตลาดการท่องเที่ยวด้านการทำอาหารทั่วโลกจะสูงถึง 1,796.5 พันล้านดอลลาร์ภายในปี 2027 ดังนั้นการผลิตอาหารออกมาในรูปแบบใหม่ๆ ก็จะช่วยสร้างความน่าสนใจให้กับผู้บริโภคมากขึ้น 

ยิ่งร้านอาหารแสดงความน่าสนใจผ่านการเล่าเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นการเดินทางของวัตถุดิบตั้งแต่แรก ก่อนจะมาจบลงบนจานอาหาร ก็ถือว่าเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงเกษตร สร้างงาน สร้างรายได้ให้เกษตรกร และสนับสนุนให้ผู้บริโภคตระหนักรู้ถึงการใช้วัตถุดิบที่ปลอดภัยส่งตรงจากฟาร์ม หรือสามารถเล่าเรื่องราวที่เป็นมรดกภูมิปัญญาที่มอบอรรถรสได้มากกว่าแค่รสชาติ ก็เป็นสิ่งที่ผู้บริโภคให้ความสนใจมากในช่วงนี้ 

4. เดี๋ยวนี้การกินอาหาร ก็ต้องรักษ์โลกกับเทรนด์ Upcycling and Sustainable Foods

ปัจจุบันผู้บริโภคกำลังตระหนักถึงความไม่ยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อมจากขยะอาหารมากขึ้น ความมั่นคงทางอาหารเลยกลายเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่จุดประเด็นให้เทรนด์อาหารรักษ์โลกยังคงมาแรงไปจนถึงปีหน้า  โดยเฉลี่ยคนไทยสร้างขยะอาหาร คนละ 254 กิโลกรัมต่อปี คิดเป็น 64% ของขยะมหาศาลทั้งหมดที่เกิดขึ้นในแต่ละวันของประเทศไทย ยิ่งอยู่ในยุคที่เดลิเวอรี่กลายเป็นเซอร์วิสประเภทหนึ่งที่คนขาดไม่ได้ ก็มีแนวโน้มที่คนไทยจะผลิตขยะ (กล่อง ช้อน ส้อมพลาสติกแบบใช้แล้วทิ้งต่างๆ) จากการบริโภคมากขึ้นตามไปด้วย

ฉะนั้นพฤติกรรมการบริโภคที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อมจึงเป็นเรื่องที่ขาดไปไม่ได้เลยในสมัยนี้ ร้านอาหารสามารถตามเทรนด์ดีๆ แบบนี้ด้วยการใช้บรรจุภัณฑ์ที่สามารถย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ หรือทำจากวัสดุรีไซเคิล และพยายามใช้วัตถุดิบทุกส่วนในการทำอาหารแต่ละจาน เพื่อลดขยะอาหารให้น้อยลงที่สุด จะได้ส่งผลดีต่อโลกและสิ่งแวดล้อม  

ถ้าอยากเป็นส่วนหนึ่งในการรักษ์โลก! ต้องมาเจอกับแคมเปญลดขยะจากอาหาร Unique tasty ซึ่งเป็นโปรเจ็กต์สุดคิ้วท์จากเฟรชเก็ต ที่จะมาช่วยเพิ่มคุณค่าให้กับผักผลไม้ที่มีรูปร่างไม่ตรงตามสแตนดาร์ด ซึ่งส่วนมากมักกลายเป็น “คนที่ถูกทิ้ง” เสมอ ทั้งๆ ที่ยังสามารถกินได้ รสชาติอร่อย แถมยังมีคุณค่าทางโภชนาการไม่ต่างจากผักสวยๆ ทั่วไป การนำน้องๆ มาทำอาหาร ถือเป็นการ “ช่วยลดขยะอาหาร และช่วยเกษตรกรไทยซื้อผลผลิตที่ขายยากในท้องตลาด” ไปพร้อมๆ กันอีกด้วย! สนใจอยากร่วมเป็นส่วนของการรักษ์โลก สนับสนุนเกษตรไทย

5. ปิ่นโตดิจิทัลกับ Food Subscription

Food Subscription คือการผูกปิ่นโตแบบดิจิทัล โดยที่เวลาเราสั่งอาหาร ก็ไม่จำเป็นต้องกดอาหารที่ละเมนูให้มาส่งแต่ละมื้อ แต่สามารถสั่งทีเดียวล่วงหน้า 10-30 มื้อ แล้วผู้ให้บริการจะทำการจัดส่งถึงที่ ข้อดีที่ผู้บริโภคชอบคือทำให้ค่าส่งเฉลี่ยต่อออเดอร์และค่าอาหารถูกลง แถมร้านอาหารก็ได้ลูกค้าที่มาใช้บริการของเราในระยะที่ยาวนานขึ้น ไม่ว่าจะเป็น 10-20 วัน หรือลากยาวไปตลอดทั้งเดือนก็มี นอกจากนี้ก็ยังมีสินค้าอุปโภคบริโภคอื่นๆ ที่ไม่ใช่แค่อาหาร เช่น เครื่องดื่มประเภทชา กาแฟ ก็ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก เนื่องจากลูกค้าบางกลุ่มชื่นชอบความเซอร์ไพรส์ที่ได้จากกล่องสุ่มผลิตภัณฑ์ที่แมตช์กับความชอบของตัวเอง เป็นต้น

บางธุรกิจอาหารและเครื่องดื่มก็สามารถลดขยะอาหารได้มากขึ้นจากการใช้ภาชนะที่ใช้ซ้ำได้ อย่างร้านอาหารที่ใช้ปิ่นโตแทนภาชนะบรรจุอาหารจริงๆ ที่มีบริการรับกล่องกลับไปทำความสะอาดและใช้ซ้ำ เสมือนว่าย้อนเวลาไปห้าสิบปีก่อนที่ยังมีการผูกปิ่นโต หรือหากร้านอาหารไหนไม่สะดวก ก็สามารถหันมาใช้บรรจุัณฑ์ที่สามารถย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ ก็ดีต่อสิ่งแวดล้อมของเราได้เหมือนกัน 

6. อาหารที่ช่วยเรื่องระบบภูมิคุ้มกัน หรือ Immunity Balance เหมาะสำหรับผู้สูงวัย

FI-Asia แชร์ข้อมูลว่าทั่วโลกเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ (Aged Society) ในปี 2050 และกว่า 14% ของประชากรทั้งหมดจะมีอายุ 65 ปีขึ้นไป ซึ่งจัดเป็นประเด็นสําคัญระดับโลก ฉะนั้นเทรนด์อาหารปี 2023 ที่เกี่ยวข้องกับตลาดอาหารสำหรับผู้สูงวัยก็ต้องมาแรงในโลกอนาคตแน่นอน 

อาหารที่ตอบโจทย์ผู้สูงวัย ได้แก่ อาหารที่มีส่วนผสมจากธรรมชาติ และควรมีสารอาหารครบถ้วนที่จะช่วยเสริมให้ระบบภูมิคุ้มกันที่ถดถอยสามารถทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ และป้องกันอาการป่วยได้ ซึ่งวิตามินและสารอาหารที่ดีต่อระบบภูมิคุ้มกันก็มี  วิตามิน A, B6, B12, C and D รวมไปถึง โฟเลต เหล็ก ซิงค์ เป็นต้น ผลไม้ ผัก ถั่ว ธัญพืช เนื้อสัตว์จำพวกปลา ฯลฯ นั่นเอง 

หากร้านอาหารมีเซ็ตอาหารที่เหมาะกับผู้สูงอายุ เพิ่มเทคนิกการตลาดรองรับกลุ่มผู้บริโภคหลากหลายในอนาคต ก็เป็นอีกทางที่ช่วยขยับขยายกลุ่มผู้บริโภค และสร้างกำไรได้เพิ่มอีกด้วย  

7. 50 Shades of Milk นมทางเลือกที่หลากหลายตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์มากขึ้น

สำหรับเทรนด์อาหารปี 2023 ก็ต้องไม่พ้นเรื่องนมหลากหลายแบบ เพราะตอนนี้ผู้บริโภคให้ความสนใจ และเห็นคุณค่าของนมทางเลือกมากขึ้น แล้วในปัจจุบันก็มีนมทางเลือกมากมาย ซึ่งดีต่อกลุ่มคนที่มีอาหารแพ้อาหารต่างๆ ไม่สามารถดื่มนมที่มาจากวัว หรือสัตว์อื่นๆ ได้ เช่น นมข้าวโอ๊ต นมอัลมอนด์ นมมันฝรั่ง ฯลฯ ซึ่งนมเหล่านี้ก็มีโปรตีนและสารอาหารอื่นๆ เทียบเท่ากับนมวัว แถมนมบางประเภทยังมีปริมาณแคลอรี่ต่ำ เหมาะกับคนที่อยากควบคุมน้ำหนัก จึงสามารถดื่มแทนกันได้โดยไม่ต้องกังวล 

ผู้ประกอบการสามารถนำความหลากหลายนี้มาสร้างโอกาสในการขยับขยายความหลากหลายของเมนู และตอบโจทย์กลุ่มลูกค้าที่ใหญ่ขึ้นได้ 

8. Digitalization นำเทคโนโลยีมาปรับใช้ ช่วยให้ร้านอาหารมีมีประสิทธิภาพ

หากผู้ประกอบการสามารถนำเทคโนโลยี เช่น AI หรือ Big Data มาช่วยประกอบการตัดสินใจ หรือคาดการณ์สถานการณ์ที่สามารถเกิดขึ้นในอนาคตเพื่อจะได้วางแผนบริหารจัดการให้ทันท่วงที ก็สามารถช่วยป้องกันความเสี่ยงด้านธุรกิจได้  นอกจากนี้ร้านอาหารยังสามารถนำเทคโนโลยีมาใช้ในการจัดการบริหารวัตถุดิบให้มีประสิทธิภาพ ลดวัตถุดิบตกค้าง สามารถช่วยลดต้นทุนวัตถุดิบได้อีกด้วย

ไม่พอผู้ประกอบการยังมีเครื่องมือมากมายที่ช่วยวิเคราะห์พฤติกรรมของผู้บริโภค และพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ตรงตามความต้องการและไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภคได้มากขึ้น

9. Fantastic “Protein” and Where to Find Them โปรตีนสุดเจ๋งที่ไม่ได้มาจากเนื้อสัตว์

ใครๆ ก็รู้อยู่แล้วว่าสารอาหารอย่างโปรตีน เป็นสารอาหารที่สำคัญอย่างมากสำหรับร่างกายของมนุษย์ โดยปกติเราจะรู้ว่าแหล่งโปรตีนที่สำคัญส่วนใหญ่มาจากเนื้อสัตว์ เช่น เนื้อหมู เนื้อวัว เนื้อไก่ แต่ในปัจจุบันผู้บริโภคหันมาใส่ใจเรื่องการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมตระหนักถึงปัญหาโลกร้อนที่เกิดจากการทำการประมงและปศุสัตว์มากขึ้น อีกทั้งการฆ่าสัตว์เพื่อนำมาเป็นอาหารยังเป็นการทำลายสวัสดิภาพของสัตว์ ไม่ตอบโจทย์กับกลุ่มคนที่มีความตระหนักเกี่ยวกับ Animal Welfare และ Climate Change  จึงทำให้ความต้องการของผู้บริโภคก็มีแนวโน้มที่จะบริโภคผลิตภัณฑ์จากสัตว์น้อยลงเช่นกัน 


ยกตัวอย่างเช่น 1 ใน 3 ของผู้บริโภคชาวอินเดีย ทานมังสวิรัติสิ่งเหล่านี้กลายเป็นโอกาสที่สำคัญของแหล่งโปรตีนใหม่ ๆ ของโลก ได้แก่ โปรตีนทางเลือกจากพืช (Plant-Based Protein) โปรตีนจากแมลง (Insect – Based Protein) โปรตีนสังเคราะห์จากเซลล์ (Cultured meat, Cell-Based Protein) โปรตีนจากอากาศ (Air Protein) และโปรตีนจากเชื้อรา (Mycoprotein) ซึ่งล้วนมีจุดเด่นที่แตกต่างกัน สามารถตอบโจทย์ที่หลากหลายในการบริโภคโปรตีนได้ ซึ่งในอนาคต เราคงมีโอกาสได้เจอผลิตภัณฑ์โปรตีนที่มาจากแหล่งต่างๆ รวมไปถึงเห็นเมนูอาหารที่ประกอบไปด้วยโปรตีนที่ไม่ได้มาจากเนื้อสัตว์เยอะมากขึ้น

 

หากอยากตามเทรนด์วงการอาหารเจ๋งๆ จาก ZoftConnect ตามไปอ่านเพิ่มเติมได้ที่ คลิก


ขอขอบคุณแหล่งที่มาจาก:
www.bangkokbiznews.com
www.bhf.org.uk
www.greenery.org
www.ketchum.com
www.marketingoops.com
mgronline.com
ngthai.com

Share:

โพสต์ที่น่าสนใจ