ติดต่อ:

(+66)052-005-509

เรื่องหน้ารู้ บทความที่น่าสนใจ

เรื่องหน้ารู้ > เรื่องที่ควรรู้ก่อนทำธุรกิจ Startup

blog

เรื่องที่ควรรู้ก่อนทำธุรกิจ Startup

      ถ้าพูดถึง Startup น่าจะเป็นอีกหนึ่งอาชีพที่คนรุ่นใหม่หลายคนฝันถึง ในโลกที่อะไรๆ ก็มุ่งไปสู่ความเป็น digital จนทำให้หลายคนมีไอเดียอยากทำธุรกิจ startup ที่ต่างออกไปจากธุรกิจแบบเดิม ซึ่งก็มีคำถามตามมาว่า “startup” คือคำที่ถูกพูดถึงในหมู่คนรุ่นใหม่รวมถึงบรรดานักธุรกิจนั้น แท้จริงแล้วคำคำนี้มีอะไรที่มากกว่าความทันสมัยหรือฟังแล้วดูเท่อยู่บ้าง? วันนี้ ZOFTCONNECT จะทุกคนไปเปิดคลังความรู้ใหม่ๆกันค่ะ 

      Startup คือ บริษัทที่เปิดใหม่จากคนไม่กี่คน ซึ่งที่ Silicon Valley ในสหรัฐอเมริกา เป็นแหล่งรวมตัวของบริษัทด้านไอทีชั้นนำต่างๆ มากมาย ทั้งผู้ที่สนใจเปิดบริษัทใหม่ นักลงทุน จะรวมตัวกันอยู่ที่นี่ โดยบริษัทด้านไอทีชื่อดังหลายแห่ง เช่น Facebook , Instagram ก็เริ่มต้นจากการเป็น Startup มาก่อน ความหมายในปัจจุบัน ยังรวมถึง ผู้ประกอบการใหม่ ที่ทำธุรกิจแล้วรวยปังๆ รวยเร็วแบบก้าวกระโดด โดยเป็นธุรกิจที่ตอบสนองการใช้ชีวิตในสังคมปัจจุบัน และเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีหรือแอพลิเคชั่นใหม่ๆ



     Venture Capital หรือเรียกย่อๆ ว่า VC ซึ่งก็คือ ธุรกิจเงินร่วมลงทุน โดยลงทุนเหมือนเป็นหุ้นส่วนกับบริษัท Startup มีการลงทุนระยะยาวประมาณ 3-5 ปี ซึ่งมักเป็นนักลงทุนในรูปแบบขององค์กร การลงทุนของ VC จึงมักจะมีมูลค่าที่สูงกว่า Angel investor ซึ่งมักมองภาพของธุรกิจในระดับที่ใหญ่และนอกจากสนับสนุนทางด้านการเงินแล้ว VC ยังให้คำปรึกษา ช่วยชี้แนวทางในด้านต่าง ๆ เพื่อให้ธุรกิจที่ได้รับเงินร่วมลงทุน สามารถที่จะเติบโตได้อย่างรวดเร็ว


      Angel Investor มักเป็นนักลงทุนรายอิสระหรือกลุ่มนักลงทุนอิสระที่ใช้เงินส่วนตัวในการลงทุนในธุรกิจ จึงเสนอเงินที่น้อยกว่า VC เหมาะกับธุรกิจที่ลงทุนไม่สูงมาก โดย Angel investor มักเป็นเจ้าของธุรกิจส่วนตัว หรือเจ้าของธุรกิจส่วนตัวที่เกษียณตัวเองแล้วแต่มีประสบการณ์ในการเริ่มต้นและขยายธุรกิจ ซึ่งจะมีการเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารธุรกิจแตงต่างกันไป และ มักจะได้คำปรึกษาและความช่วยเหลือจากนักลงทุนเหล่านี้อย่างต่อเนื่องหรือเมื่อต้องการ


ประเภทของ ธุรกิจ Startup

      งาน Startup Thailand 2016 ที่รัฐบาลจัดขึ้น (28 เมษายน – 1 พฤษภาคม 2559) ช่วยจุดประกายให้ผู้ประกอบการที่กำลังหาแนวทางธุรกิจให้มีการพัฒนาและเติบโตได้อย่างยั่งยืนจากองค์ความรู้และแรงบันดาลใจภายในงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งจะเป็นการเร่งการเติบโตและเพิ่มโอกาสของสตาร์ทอัพไทย ส่งผลให้เกิดแรงกระตุ้นครั้งสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของไทย ซึ่งจะมีผู้ประกอบการสตาร์ทอัพ หน่วยงานภาครัฐ และเอกชน จำนวนกว่า 200 บูธ และพร้อมหน่วยงานสนับสนุนสตาร์ทอัพจากต่างประเทศจำนวนกว่า 10 บูธ โดยมีการแบ่งโซนการแสดงนิทรรศการสตาร์ทอัพ เป็น 8 ประเภท ประกอบด้วย

  1. ธุรกิจสตาร์ทอัพด้านการเกษตรและอาหาร (AgriTech & FoodTech)
  2. ธุรกิจสตาร์ทอัพด้านการส่งเสริมอุตสาหกรรม 4.0 และอุตสาหกรรมสะอาด (Industry 4.0 & CleanTech)
  3. ธุรกิจสตาร์ทอัพด้านการศึกษาและการสนับสนุนการทำงานของภาครัฐ (EdTech & GovTech)
  4. ธุรกิจสตาร์ทอัพด้านอสังหาริมทรัพย์ (PropertyTech)
  5. ธุรกิจสตาร์ทอัพที่เกี่ยวกับการใช้ชีวิตประจำวัน ทั้งด้านบริการส่วนบุคคล การท่องเที่ยว และความบันเทิง (Lifestyle : Personal service, TravelTech & Entertainment)
  6. ธุรกิจสตาร์ทอัพด้านการเข้าถึงสินค้า (E-Commerce & Logistics)
  7. ธุรกิจสตาร์ทอัพด้านการเงิน (FinTech) และด้านการให้บริการสำหรับธุรกิจ (Service Enhancement)
  8. ธุรกิจสตาร์ทอัพด้านสุขภาพ (HealthTech)


นี้คือสิ่งที่ต้องได้เรียนรู้หรือได้พบเจอตลอด 1 ปีในการทำธุรกิจ Startup

  1. เริ่มต้นด้วยการทำ Prototype พิสูจน์ไอเดียของเราในตอนเริ่มธุรกิจใหม่ๆ และเรายังไม่มีเงินทุน การทำยังไงให้เราได้ทดลองตลาดว่าในไอเดียธุรกิจของเรานั้นมี Demand จริงๆหริอไม่นั้นเป็นเรื่องที่สำคัญมากเพราะธุรกิจที่จะอยู่ได้และได้รับความสนใจจาก Investor ต่างๆ ควรจะต้องมีการพิสูจน์ไอเดียในระดับหนึ่ง เช่นในตอนที่ผมเริ่ม Hisobus ตอนนั้นผมกับเพื่อนอีกคนทำแค่เปิดเว็บไซต์แล้วยิงโฆษณาผ่าน Google Ads แล้วดูว่ามี Traffic และยอดสั่งซื้อเข้ามาจริงหรือไม่เมื่อทำอยู่ประมาณ 2 เดือนก็เริ่มรู้ว่าไอเดียธุรกิจนี้ไปได้ และมองการพัฒนาธุรกิจในขั้นต่อไป

  2. เรียนรู้จากตำรายังไงก็ไม่เท่าลงสนามจริง อ่านหนังสือ 100 เล่มยังไงก็ไม่เท่ากับลงสนามจริง ผมเข้าใจข้อนี้มากที่สุดก็เมือเราเริ่มทำการ Pitch ครั้งแรกหลังเรียนจบหลักสูตร Startup Ready ที่เขาบ่มเพาะคนที่สนใจในการสร้างธุรกิจ Startup ขั้นตอนต่างๆ ความตื่นเต้น การเรียงลำดับความคิด , การสรุป Business Model , การสรุป Revenue Model และการสร้างให้สิ่งเหล่านั้นเกิดขึ้นจริง จากจุดนี้ทำให้ผมเรียนรู้ว่าการ Learning พร้อม Doing คือสิ่งที่สำคัญในการฝึกฝนในการทำธุรกิจ

  3. ทีมเป็นเรื่องที่สำคัญมาก องค์ประกอบของทีมผมว่านี้เป็นสิ่งนึงที่สำคัญมากๆ ในตอนแรกนั้นทีมของผมมีเพียงแค่คนที่เป็น Ceo ( Chief Executive Officer ) และตัวผมที่เป็น Cmo ( Chief Marketing Officer ) ในตอนนั้นสิ่งที่เราพบเจอคือแล้วใครละจะเป็นคนที่ทำไอเดียที่เรามีให้สามารถออกมาเป็นจริงได้ขั้นตอนในการเฟ้นหา Cto ( Chief Technology Officer ) เป็นเรื่องที่ยากมากจนได้มาเจอกับตุ่นเพื่อนสมัยมัธยมของเจ Ceo ของทีม นั้นคือจุดประกายทีทำให้เกิดจุดบรรจบระหว่างไอเดียและนวัตกรรม ผมได้เรียนรู้ว่าการทำงานเป็นทีม และ องค์ประกอบของทีมเป็นสิ่งที่สำคัญมากในการทำธุรกิจหากไม่มีองค์ประกอบตัว Platform คงไม่สามารถจะ Launch ในช่วงต้นปี 2019 ได้

  4. การ Pitching สิ่งที่ Startup ต้องให้ความสำคัญ เชื่อว่าหลายๆคนก็คงรู้กันดีว่าการ Pitching เป็นสิ่งที่สำคัญมากและมีหลักการมากมายที่มีผู้รู้หลายท่านแนะนำเช่นหลักการ 7 Elevator Pitch หรือสิ่งต่างๆมากมายผมว่าสิ่งที่หลายคนที่กำลังเริ่มทำ Startupควรจะเริ่มมอง 2 มุมนั้นคือ 1. การพรีเซนต์ , 2. การตอบคำถาม สำหรับผมแล้วจุดนึงที่วัดกันว่า Investor ไม่ว่าจะป็น Angel Investor หรือ Venture Capital จะสนใจธุรกิจของเราไหมนั้นคือการตอบคำถาม เพราะมนุษย์ส่วนใหญ่ชอบการสื่อสารแบบ 2 Ways Communication และ รายละเอียดของธุรกิจคุณที่เหล่า Investor สงสัยก็จะถูกคลี่คลายในช่วงนี้คำแนะนำของผมคือให้สรุปสิ่งที่เหล่า Investor ถามทุกครั้งเพื่อเราจะสามารถทำการบ้านและแก้ไขปัญหาเหล่านั้นให้ดีขึ้น

  5. การหาผู้มีประสบการณ์เข้ามาอยู่ในทีมช่วยให้ธุรกิจเติบโตได้รวดเร็วขึ้น ความเก่งอาจไม่สู้ประสบการณ์คืออีก 1 สิ่งสำคัญที่ผมได้เรียนรู้จากการทำ Startup ไม่ว่าจะเป็นการออกแบบ Business Model , การประเมินมูลค่า (Validation) ของบริษัท , การดิวกับ Partner ที่มีขนาดใหญ่ สิ่งเหล่านี้หากได้ผู้มีประสบการณ์ไม่ว่าจะมาจากคนที่เคยทำ Startup และ Exit ไปแล้ว หรือ คนที่เชี่ยวชาญในการวางกลยุทธ์ธุรกิจสิ่งเหล่านี้จะทำให้ธุรกิจของเราเติบโตได้อย่างรวดเร็วมากยิ่งขึ้น

  6. อะไรคือเรื่องก่อนที่เราจะคิด Funding ในช่วงแรกๆของการทำ Hisobus เรื่อง Funding เป็นสิ่งที่ผมคิดอยู่ตลอดเวลาแต่เมื่อมีโอกาสได้ทำการ Pitching บ่อยขึ้นและเคยมี Investor สนใจเข้ามาลงทุนในธุรกิจ ผมมี 6 เรื่องที่เราควรคิดก่อนการทำ Funding
    - คนที่จะเข้ามาลงทุนในธุรกิจของเราจะส่งเสริมธุรกิจของเราในมุมอื่นๆมากแค่ไหนที่ไม่ใช่แค่ตัวเงิน
    - ธุรกิจของเราต้องการความเร็วในการเติบโตมากแค่ไหน
    - อะไรคือสิ่งที่เราจะให้กับผู้ถือหุ้นนอกจากมูลค่าของหุ้น
    - เราอยากทำงานกับเขาจริงๆไหม
    - มูลค่าของบริษัทที่แท้จริง
    - โอกาสในการขยายธุรกิจที่มากกว่าแค่ประเทศไทย

ขอบคุณบทความดีๆจาก: techsauce.co 

Share:

โพสต์ที่น่าสนใจ