ประเพณีลอยกระทงในคืนวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 มีมาตั้งแต่สมัยโบราณกาล แม้จะมีข้อสันนิษฐานเกี่ยวกับที่มาของการลอยกระทงหลายประการ แต่ส่วนใหญ่เชื่อกันว่าเป็นการขอบคุณพระแม่คงคาเทพเจ้าแห่งสายน้ำ ที่ให้น้ำไว้ใช้ในการเกษตรและประโยชน์อื่น ๆ และเป็นการขอขมาที่ได้ลงอาบน้ำและปล่อยของเสียลงไป การทำกระทงนิยมทำด้วยใบตอง ใบพลับพลึง กาบมะพร้าว ประดิษฐ์เป็นรูปต่าง ๆ แล้วปักธูปเทียนบนวัสดุที่ไม่จมน้ำ นำไปปล่อยลงให้ลอยไปตามลำน้ำ ปัจจุบัน ปริมาณกระทงมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น มีการดัดแปลงกระทงโดยใช้วัสดุต่าง ๆ ที่อาจทำให้เกิดขยะตกค้าง ขัดขวางการระบายน้ำ และสร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมได้
กระทงลอยแล้วไปไหน? เมื่อคุณลอยเสร็จ
กระทงพวกนี้ทุกชนิดจะถูกส่งไปกำจัด และถูกแบ่งแยกชนิด เพื่อกำจัดตามประเภทต่างๆ
ซึ่งสิ่งเหล่านี้ก็สิ้นเปลืองพลังงานและงบประมาณค่ะ เพราะกระทงแต่ละชนิด
มีระยะเวลาการย่อยสลายต่างกัน บ้าง 5 วัน บ้าง 15 วัน บ้าง 50 ปี และหากกำจัดไม่ทัน
พวกที่อยู่ในน้ำก็สร้างปัญหาให้แหล่งน้ำ ต่อให้ลอยในที่ปิด แต่ขยะก็คือขยะ
อย่างไรก็ตาม
มีคนอีกไม่น้อยทั้งผู้ลอยกระทงและผู้ขายกระทง ทั้งที่ไม่ทราบ บ้างก็ยังไม่ตระหนักถึงแนวทางการลอยกระทงรักษ์โลกซึ่งกำลังเป็นวิถีในการดำเนินชีวิตรักษาสภาพแวดล้อมอยู่ในเทรนด์ของโลกยุคใหม่
ขอแนะนำการไปร่วมสืบสานประเพณีลอยกระทง ดังนี้
ไปด้วยกัน ใช้กระทงเดียวกัน ได้แก่ ครอบครัวละหนึ่ง คู่รักละหนึ่ง
กลุ่มละหนึ่ง เพื่อ “กระทงจะได้ไม่หลงทาง” เป็นการลดจำนวนกระทงที่จะส่งผลกระทบต่อแหล่งน้ำและเป็นภาระจัดเก็บหลังเสร็จงาน
และช่วยประหยัดสำหรับผู้ที่จะซื้อกระทงอีกทางหนึ่งด้วยถึ
เลือกใช้วัสดุธรรมชาติ โดยใช้หยวกกล้วย กาบกล้วย ใบตอง
นำเป็นประดิษฐ์กระทง ประดับด้วยกลีบดอกบัวหรือดอกไม้ กระทง กลัดด้วยไม้แทนเข็มหมุด
ในลักษณะนี้จะไม่ย่อยสลายหรือจมลงเร็วเกินไป
สามารถจัดเก็บและนำไปกำจัดได้ง่ายหลังจากเสร็จงาน
หรือแม้มีบางส่วนที่เล็ดลอดออกสู่สิ่งแวดล้อมก็สามารถย่อยสลายได้
หลีกเลี่ยงการใช้วัสดุกระดาษ ซึ่งอาจจมน้ำหรือเปียกน้ำ
แล้วจะยุ่งยากในการจัดเก็บ เท่ากับเป็นการสูญเสียทรัพยากรไป และควรนำไปรีไซเคิล
ที่เกิดประโยชน์มากกว่า
หลีกเลี่ยงการใช้วัสดุพวกแป้ง
ขนมปัง ที่ตั้งใจจะให้เป็นอาหารของปลาและสัตว์น้ำ
แต่วัสดุพวกนี้ซับน้ำได้เร็วยุ่ยง่าย จมเร็ว และเป็นสารอินทรีย์ย่อยสลายได้เร็ว
หากมีจำนวนมาก สัตว์น้ำไม่สามารถกินได้หมด จะทำให้แหล่งน้ำเน่าเสียเพิ่มขึ้น
ถือว่าเป็นการเพิ่มความสกปรกให้แหล่งน้ำ โดยเฉพาะในสระน้ำ บึง หรือหนองน้ำที่น้ำไม่ไหลเวียน
หรือแหล่งน้ำนิ่ง
ควรเลือกวัสดุประเภทเดียวกัน เพื่อความสะดวกในการแยกกระทงไปจัดการต่อของหน่วยงานที่รับผิดชอบ
เมื่อได้ทำการจัดเก็บหลังเสร็จงานแล้ว เช่น
ทำจากใบตองหรือวัสดุธรรมชาติเป็นอินทรีย์ทั้งกระทง
งดการวัสดุพลาสติกและโฟม
ซึ่งเป็นวัสดุที่ย่อยสลายยาก พลาสติกบางชิ้นและโฟมไม่เหมาะในการนำไปรีไซเคิล
หากเล็ดลอดสู่แม่น้ำและทะเลแล้วก็จะใช้เวลาหลายร้อยปีในการย่อยสลาย
เมื่อปีที่ผ่านมายังพบการใช้กระทงโฟมอยู่บ้าง ปีนี้จึงขอความร่วมมืองดการใช้อย่างจริงจัง
งดใช้ลวด แม็กซ์ หมุด ตะปู
ในการยึดวัสดุทำกระทง เนื่องจากสิ่งเหล่านี้อาจหลุดและตกลงสู่แหล่งน้ำ
เป็นอันตรายได้และหากจัดเก็บกระทงมาได้ก็ยากในการคัดแยกเพื่อนำไปจัดการอย่างถูกวิธี
จึงควรใช้ไม้กลัดจากวัสดุธรรมชาติแทน
วัสดุธรรมชาติ จำพวกหยวกกล้วย
ใบตอง ใบไม้ ดอกไม้ รวมถึงวัสดุจำพวกแป้ง (หากสามารถจัดเก็บได้ทัน) ควรนำ
ไปหมักเป็นสารบำรุงดิน ซึ่งต้องเตรียมพื้นที่ไว้ล่วงหน้าให้เหมาะสม
.
ร่วมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในวันลอยกระทงไปกับ ZoftConnect อนุรักษ์ลอยกระทงเป็นประเพณีไทยที่เก่าแก่ที่มีมานานหลายศตวรรษ
เป็นการเฉลิมฉลองให้กับน้ำและขอให้สิ่งดีๆ ไหลเข้ามาในชีวิตของเรา
ปีนี้เราขอเชิญชวนทุกท่านมาร่วมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมด้วยการลอยกระทงที่ทำจากวัสดุธรรมชาติ
เช่น ใบตองหรือดอกบัว แทนที่จะใช้กระทงที่ทำจากโฟมหรือพลาสติกซึ่งย่อยสลายยาก
มาร่วมสร้างประเพณีลอยกระทงที่ดีต่อสิ่งแวดล้อมไปด้วยกัน